รัฐบาลจีน จ่อจัดระเบียบเกมอีสปอร์ตเพิ่ม!

จีนจ่อแบนอีสปอร์ตเพิ่ม
แชร์ข่าว
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

ฝันร้ายของผู้พัฒนา League of Legends ดูมีเค้าโครงความจริง เมื่อ Tencent Holding ค่ายแม่ได้เปิดเผยผลประกอบการทั้งหมด ซึ่งฟ้องว่า รายได้จากเกม PC ของพวกเขาลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึง 15% ทำให้มูลค่าลดลงมาอยู่ที่ 1.7 พันล้านเหรียญฯ ขณะที่เกมสมาร์ทโฟนอย่าง Honor of Kings และ Arena of Valor ที่เติบโตจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 11% มีมูลค่าโดยรวมอยู่ที่ 2.8 พันล้านเหรียญฯ

อย่างไรก็ตาม สาเหตุแท้จริงที่ค่ายยักษ์ใหญ่จากจีนจำเป็นต้องเลือกลงทุนกับสมาร์ทโฟนที่ให้ผลตอบแทนที่มากมายและรวดเร็วทันใจกว่า แท้จริงแล้วเกิดจาก “การปรับนโยบายของรัฐบาลจีน” ที่เข้มงวดกวดขันต่อเกมเมอร์วัยเยาว์ อาทิ จำกัดช่วงเวลาการเล่นของเยาวชน ห้ามมิให้ผู้ที่มาอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าใช้บริการร้านเกมและ Internet Café รวมไปถึงการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของค่ายเกมออนไลน์โดยละเอียด ฯลฯ ยิ่งกว่านั้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน รัฐบาลจีนได้ระงับการออกใบอนุญาตผู้ให้บริการและพัฒนาเกมของ Tencent โดยไม่มีทีท่าว่าจะยุติการระงับแต่อย่างใด เป็นเหตุให้เกมในมือของค่ายนี้ (ทั้งที่กำลังพัฒนาอยู่และเปิดให้บริการแล้ว) ต้องปิดตัวลงถึง 15 เกม

ล่าสุด รัฐบาลจีน เพิ่งจัดตั้ง ‘คณะกรรมการด้านจริยธรรม’ เพื่อทำการจัดระเบียบเกมออนไลน์ชั้นนำที่เปิดให้บริการในประเทศจีน ซึ่งมี (ภาพของสิ่งที่คาดว่าน่าจะเป็น) เอกสารรายชื่อเกม เหตุผลการตรวจสอบ และข้อแนะนำให้รัฐบาลดำเนินการต่อ โดย 20 เกมที่ถูกนำขึ้นพิจารณามีดังต่อไปนี้

1.Arena of Valor (ผ่าน): ตัวละครหญิงมีการแต่งตัวที่ล่อแหล่มเกินไป, มีการจูงใจให้ผู้เล่นเลื่อนระดับเพื่อรับรางวัลในเกม, บิดเบือนประวัตติศาสตร์และวัฒนธรรม

2.League of Legends (ผ่าน): ตัวละครหญิงมีการแต่งตัวที่ล่อแหล่มเกินไป, มีการจูงใจให้ผู้เล่นเลื่อนระดับเพื่อรับรางวัลในเกม, ระบบการคุยที่ส่งเสริมความแตกแยก

3.Blade & Soul (ผ่าน): ตัวละครหญิงมีการแต่งตัวที่ล่อแหล่มเกินไป, ระบบการคุยที่ส่งเสริมความแตกแยก

4.Chu Liu Xiang (ผ่าน): ระบบการคุยที่ส่งเสริมความแตกแยก , ตัวละครหญิงโป๊เกินไป

5.Overwatch (ผ่าน): เกมโปรโมทเกินจริงกว่าที่เป็น , ตัวละครหญิงโป๊เกินไป

6.Diablo (ผ่าน): ตัวละครหญิงมีการแต่งตัวที่ล่อแหล่มเกินไป, ภารกิจของเกมหลอกหลวง

7.World of Warcraft (ผ่าน): ตัวละครหญิงมีการแต่งตัวที่ล่อแหล่มเกินไป,  ระบบการคุยที่ส่งเสริมความแตกแยก

8.Westward Journey (ผ่าน): ตัวละครหญิงมีการแต่งตัวที่ล่อแหล่มเกินไป,  บิดเบือนประวัตติศาสตร์และวัฒนธรรม , ระบบการคุยที่ส่งเสริมความแตกแยก

9.Code: Eva (ผ่าน): มีการจูงใจให้ผู้เล่นเลื่อนระดับเพื่อรับรางวัลในเกม, บิดเบือนประวัตติศาสตร์และวัฒนธรรม

10.The Legent of Mir 3 (ผ่าน): ระบบการคุยที่ส่งเสริมความแตกแยก

11.Swords of Legends Online (ผ่าน): ระบบการคุยที่ส่งเสริมความแตกแยก

12.PlayerUnknown’s Battleground (ไม่ผ่าน): มีเลือดและความรุนแรงมากเกินไป

13.Fortnite (ไม่ผ่าน): มีเลือดและความรุนแรงมากเกินไป, เนื้อหาหยาบคาย

14.H1Z1 (ไม่ผ่าน): มีเลือดและความรุนแรงมากเกินไป, เนื้อหาหยาบคาย

15.Alliance of Valiant Arms (ไม่ผ่าน): มีเลือดและความรุนแรงมากเกินไป, เนื้อหาหยาบคาย

16.Ring of Elysium (ไม่ผ่าน): มีเลือดและความรุนแรงมากเกินไป, เนื้อหาหยาบคาย

17.Paladins (ไม่ผ่าน): มีเลือดและความรุนแรงมากเกินไป, เนื้อหาหยาบคาย , ตัวละครหญิงโป๊เกินไป

18.Free Fire Battlegrounds (ไม่ผ่าน): มีเลือดและความรุนแรงมากเกินไป, เนื้อหาหยาบคาย , ตัวละครหญิงโป๊เกินไป

19.Knives Out (ไม่ผ่าน): มีเลือดและความรุนแรงมากเกินไป, เนื้อหาหยาบคาย , ตัวละครหญิงโป๊เกินไป

20.Quantum Matrix (ไม่ผ่าน): มีเลือดและความรุนแรงมากเกินไป, เนื้อหาหยาบคาย

แน่นอนว่า ประเด็นที่นักข่าวและชาวโซเชียลให้การจับตามองย่อมหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า “เพราะเหตุใดเกมส่วนใหญ่ที่ถูกตรวจสอบส่วนล้วนเป็นเกมออนไลน์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Tencent” เพราะกว่าครึ่งไม่เป็นเกมในมือก็เป็นของค่ายลูกหม้อ ไม่ก็ของบริษัทที่ Tencent ถือหุ้นอยู่ ไล่ตั้งแต่ Playerunknown’s Battlegrounds หรือ PUBG (Tencent ถือหุ้นส่วนหนึ่ง),  Fortnite (ถือหุ้นส่วนหนึ่ง), Ring of Elysium (เป็นเจ้าของ) และ Free Fire Battlegrounds (เป็นเจ้าของ) ยังถูกตัดสินว่าไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาอีกด้วย

หลังจากนี้ น่าสนใจว่า รัฐจะมีบทลงโทษที่ในรูปแบบใด จะจัดระเบียบ Rating ผู้เล่นใหม่ จะให้ผู้พัฒนาปรับเนื้อหาเกมให้เหมาะ หรือจะลงโทษขั้นเด็ดขาดระงับการให้บริการในทันที และถ้าหากหลักฐานที่ถูกเปิดเผยทางอินเตอร์เน็ตเป็นความจริง บอกเดียวคำเดียวว่า ตอนนี้ Tencent กำลังตกที่นั่งลำบากแล้ว!